วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์



aaaaaการติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า ระบบเครื่อข่าย (Network) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับaaaaaในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสาร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบaaaaaต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานของเมนเฟรม มีความเร็วมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับไมโครคอมพิวเตอร์ตัวที่ดีที่สุด แต่ราคาของเมนเฟรมแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์หลายพันเท่า การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์จึงแพร่หลายและกระจายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายแบบกระจาย กล่าวคือ แทนที่จะออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อกับเมนเฟรม ก็เปลี่ยนเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แทนaaaaaลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอม

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 1.  สำนักงานอัตโนมัติ  (Automated office)  
               สำนักงานอัตโนมัติ คือ  การนำเอาคอมพิวเตอร์ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สื่อสารมาใช้ในการจัดการสำนักงาน  โดยอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานอาจเป็นระบบโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อผ่านโมเด็มที่สามารถติดต่อสื่อสารทั้งเสียงพูดและภาพ ทั้งนี้สำนักงานอาจมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหรือระบบแลน (LAN)เพื่อให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอก แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในการเชื่อมโยงนั้นสามารถทำได้ระหว่างจุดต่าง ๆ หรือพร้อมกันหลาย  จุด เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าข้อมูลลูกค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ในฐาน
ข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้  ระบบเครือข่ายแลนและระบบโทรศัพท์
 โทรสารจึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ในทันทีทันใด
                2.  การสื่อสารด้วยแสง
                ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการสื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยแก้วนำแสง
(Fiber Optic)   โดยเส้นใยนำแสงนี้ประกอบด้วย  ส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น





 สาเหตุที่นิยมนำใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารเพราะสามารถใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สายมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลมีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวน
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้างนอกจากนี้ยังสามารถวางเส้นใยนำเป็นสายเคเบิลควบคู่ไปกับ
สายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย สามารถวางเส้นใยนำแสงใต้ดินในอุโมงค์ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ และสามารถนำมาใช้กับงานต่างๆ เช่นงานด้านเคเบิลทีวี งานการสื่อสารควบคุมการจราจรของรถไฟรถยนต์ การควบคุมในงานอุตสาหกรรมงานเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบโทรศัพท์ และการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่ายเป็นต้น


 3. การสื่อสารผ่านดาวเทียม
              การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดินส่งตรงขึ้นไปยัง
ดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมากประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของ
บริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา




   ใน พ.. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปา
ของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์
ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปา
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟ
                 ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งต่างจากดาวเทียมจารกรรมทางทหารหรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วัน
                 ดาวเทียมค้างฟ้า  เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วันพอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้อง  เหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร




  บริษัทชั้นนำในด้านการข่าวเช่น ซีเอ็นเอ็นจะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าว
หรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก 
ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นต้องมีจานรับสัญญาณจึง
จะรับได้และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียมเพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณ
ได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลกสัญญาณ
จะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวง



  ในช่วงปลาย พ.. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสาร
ของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
ดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก
เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่
4 , 10 และ
 
12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา
และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศส
ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ
15 ปี ปัจจุบันได้ส่งดาวเทียมไทยคมดวงที่สองขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นที่เรียบร้อย
                การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทย
มีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่าน
ดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือ
มีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดิน
 
               ดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญ เติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร

 
4. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล(Integrated Services Digital Network : ISDN)
          โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล(Integrated Services Digital Network : ISDN) 
เป็นระบบการสื่อสารมาตรฐานที่ถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมโดยเฉพาะ
ระบบโทรศัพท์เดิมซึ่งเป็นระบบสื่อสารที่ใช้สัญญานอนาล็อกที่ใช้สื่อนำสัญญาณ
 คือ 
ลวดทองแดงและสายโคแอกเซียลเป็นสื่อนำสัญญา
         ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีสัญญาณดิจิตอลมาใช้
 
ทำให้ความต้องการใช้งานเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์สูงขึ้นโดยมีการประยุกต์
เพื่อนำเอาโทรสารมาใช้มีการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าช่องสัญญาณโทรศัพท์
เพื่อใช้ในกิจการค้ามากขึ้นเช่น
 ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  การแลกเปลี่ยนข่าวสาร 
จึงทำให้ระบบโทรศัพท์มีการพัฒนาสามารถส่งสัญญานได้หลายช่องทางในเวลาเดียวกันได้                      การประยุกต์ใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอลนี้จึงเป็นเรื่องที่รวมการบริการหลายอย่างเข้า
ในเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น การประชุมทางโทรศัพท์ การรับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่มีภาพประกอบ
หรือเห็นภาพผู้รับปลายทางอย่างชัดเจน